สุสานสงครามโลก กาญจนบุรี(ดอนรัก)
สุสานสงครามโลก กาญจนบุรี(ดอนรัก)
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (The Kanchanaburi War Cemetery) เนื่องจากการเกณฑ์ทหารสัมพันธมิตร มาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ผ่านกาญจนบุรีไป พม่า ของกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเหตูให้เชลศึกพันธมิตร เสียชีวิตที่กาญจนบุรีเป็นจำนวนมาก สุสานแห่งนี้บรรจุกระดูกของทหารสัมพันธมิตร จำนวน 6,982 หลุม สุสานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟกาญจนบุรี ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ ภายในตกแต่งอย่างสวยงาม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยละชาวต่างชาติ มาเยี่ยมชมจำนวนมาก เพราะเป็นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกาญจนบุรีเพียง 300 เมตร สุสานแห่งนี้มีเนื้อที่กว้างขวาง สวยงาม และสงบเงียบ บรรจุศพทหารเชลยศึก ถึง 6,982 หลุม สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย มีคนมากมายมาเที่ยวที่กาญจนบุรี เพื่อที่จะมาชมสุสานทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ สุสานทหารสัมพันธมิตร แห่งนีสร้างขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเกีรติให้กับเชลยศึกที่เสียชีวิตในระหว่างสร้างทางรถไฟไปสู่ประเทศพม่า ทางรถไฟสายมรณะ. สุสานแห่งนี้ สร้างเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในเครือจักรภพ มากกว่า 5,000 คน และจากฮอลันดา 1,800 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคภัยต่างๆ ที่ Nieke และ Changaraya ประมาณ 300 คน หลังจากการเผาศพแล้ว ได้นำอังคารไปฝัง ที่หลุมฝังศพสองแห่งภายในสุสาน สำหรับรายนามของผู้เสียชีวิตจารึกไว้ที่ศาลาของ สุสาน นอกจากนั้น หลุมฝังศพของหลุมฝังศพ ทหารของกองทัพอินเดีย สิบเอ็ดคนฝังอยู่ตามสถานที่อื่นๆในประเทศไทย ซึ่งไม่สามารดูแลและรักษาได้ รายนามเหล่านั้นถูกจารึกไว้ที่ผนังตึกตรงทางเข้าสุสาน
เดินทางมาอย่างไร
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก ตั้งอยู่ริมถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข 323)ก่อนจะเข้าตัวเมือง จังหวัดกาญจนบุรีตั้งอยู่ห่างจ่างกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตกเฉีงเหนือ ประมาณ 129 กิโลเมตร คุณสามารถเดินทางมาที่นี่โดย รถส่วนตัว รถไฟ หรือรถบัส จากกรุงเทพฯ ก็ได้ เดินทางง่าย
ประวัติ
หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว กองทัพญี่ปุ่นได้ยึดครองแผ่นดินส่วนใหญ่ในเอเชียอาคเนย์ อย่างรวดเร็วในปี ค.ศ.1942 ญี่ปุ่นตัดสินใจใช้แรงงานเชลยศึก และกรรมการพลเรือนสร้างทางรถไฟทางเดียวที่บ้านโป่ง ทางด้านตะวันออกเชื่อมกับสถานีรถไฟ เมืองชันยูทายัด ทางด้านตะวันตกเพื่อย่นระยะการเดินทาง และปกป้งเส้นทางการลำเลียงระหว่างประเทศสยาม และประเทศพม่า การสร้างทางรถไฟ สายนี้เริ่มจากพม่า และประเทศไทย นเวลาเดียวกันซึ่งในที่สุดมาบรรจบกันที่ Konkuita เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1943 การสร้างทางรถไฟ ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต ที่เป็นเชลยศึกไปประมาณ 15,000 คน และพลเรือนอีก 100,000 คน เนื่องจากประสบภัยไข้เจ็บต่างๆ การขาดอาหาร ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย และการทารุณกรรม สุสานแห่งนี้เป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดในจำนวนสามแห่ง ที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทางรถไฟพม่า -ไทย
สุสานทหารพันธมิตรดอนรัก แห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้สถานที่กักกันค่ายเชลยศึก “กาญจนบุรี”ในอดีตเป็นสถานที่ที่เชลยศึกส่วนใหญ่ เดินทางผ่านไปที่ค่ายอื่น Colin St Clair Oakes เป็นผู้ออกแบบสุสาน ซึ่งหน่วยสุสานทหารบก (The Army Graves Service)สร้างขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยงานดังกล่าวได้ดำเนินการ ย้ายศพของค่ายต่างๆ และสถานที่อื่นๆ ตลอดเนทางรถไฟในช่วงล่างในฝ่ายไทย รวมทั้งสถานที่อื่นๆในประเทศไทยด้วย
คณะกรรมาธิการสุสานสงครามแห่งเครือจักรภพ(The Commonwealth War Graves Commission)รับผิดชอบในการดูแลบำรุงรักษา สุสานและอนุสาวรีย์ ประมาณ 150 ประเทศ ซึ่งระลึกถึงทหารจากประเทศต่างๆ ในเครือจักรภพ 1,700,000 คน ซึ่งเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ที่ได้รับการระลึกถึง ทั้งที่นี้และที่อื่นๆ รวมทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ให้ความช่วยเหลือในช่วงสงคราม ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือศาสนาต่างๆ และผู้ที่ไม่เลื่อมใสศาสนาใด
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก กาญจนบุรีเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ และหลายๆคนมาชมทุกๆปี เพื่อระลึกถึง ความทุกข์ทรมานของเชลยศึกจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิต ในระหว่างการสร้างทางรถไฟไปประเทศพม่า
ไม่มีค่าเข้าชม สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ก็คือสุสานสงครามช่องไก่ ทางรถไฟสายมรณะ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ พิพธภัณฑ์อักษะเชลยศึก และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว.
ลิ้งค์อื่น :
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.