อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปี เป็นแหล่งศิลปะวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชนชาติไทย ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534 โบราณสถานต่างๆ ที่ปรากฎในอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรม ซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุข และเป็นปึกแผ่นที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อำนาจทางการเมืองอันมั่นคงและซับซ้อน ความมั่นคงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทสทางตะวันตก อาทิ ปอร์ตุเกส ฮดลันดา อังกฤษ สเปน และฝรั่งเศส เป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งเรือง และมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยา ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียนและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสวยงาม โดดเด่น
ประวัติ
ซากปรักหักพังในอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ได้รับการก่อตั้งโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1หรือพระเจ้าอู่ทอง ในปีพ.ศ. 1983 ในช่วงเวลานั้นเมืองอยุธยาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีอายุยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ จนถึงปี พ.ศ.2112 เสียกรุงให้กับพม่า ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญ ในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก้ มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น “มรดกโลก” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
มาอย่างไร
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สามารถเข้าถึงได้จากกรุงเทพฯ โดยรถยนต์ รถประจำทาง รถไฟ หรือจะเดินทางทางน้ำก็ได้ จากกรุงเทพฯมาอยุธยา นั่รถบัสมาลงที่สถานีรถบัสอยุธยา ถนนนเรศวร จะมีรถบัสบริการใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สำหรับคนที่ชอบเดินทางโดยรถไฟ ก็ไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ ซึ่งมีบริการรถไฟมาอยุธยา จาก 04:20 -22.00 น. เดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง คุณสามารถเดินทางโดยเรือได้เหมือนกัน
สถานที่ท่องเที่ยว
รอบๆของอยุธยา มีแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเสน่ห์มากๆ สถานที่ท่องเที่ยวหลักของจังหวัดอยุธยาคือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
พระราชวังจันทรเกษม
พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในยามที่มาเข้าเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยรัชการที่ 7 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง
พระราชวังบางปะอิน
พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และ และเป็นเคหสถานเดิมของพระมารดา ภายในพระราชวังบางประอินมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์ พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร หอวิฑูรทัศนา พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระที่นั่วโรภาษพิมาน หอเหมมณเฑียรเทวราช อนุสาวรีย์พระอัครชายาพระองค์เจ้าเสาวภานารีรัตน์และเจ้าฟ้าสามพระองค์หรือ อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์(อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม)สภาคารราชประยูร แก่งบุปผาประพาส วัดนิเวศธรรมประวัติ
วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณ อยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมนเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระจำพรรษา แตกต่างจากวัดมหาธาตุที่จังหวัดสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั้นคือ “สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง”
วัดไชยวัฒนาราม
อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์คือริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมืองพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ.ศ.2173 เพื่ออุทิศถวายให้เป็นอนุสรณ์ ณ บ้านเดิมของพระราชมารดา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราช ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัตยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่าแต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุ หรือสิ่งอันควรบูชาอื่นๆ พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์ มีซากประธานเป็น พระพุทธรูปปรางคืมารวิชัย สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณ ด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา)เจ้าสังวาลย์ เจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่ และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก
วัดมงคลบพิตร
เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปสำริด องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อปี พ.ศ.2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้บูรณะวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
นอกจากนี้อุทยานประวัติศาสตร์ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและโบราณสถานที่สำคัญแห่งอื่นอีก เช่น วัดราชบูรณะ วัดพนัญเชิง วัดเจ้าพญาไท หรือวัดใหญ่ไชยมงคล วัดพระราม วัดญาณแสน วัดธรรมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม วัดหน้าพระเมรุ เป็นต้น
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.