อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางอารยธรรมขอมที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย ถ้าคุณต้องการเห็นโบราณสถานแบบขอมที่สำคัญในประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอเฉลิมพระเกียริต จังหวัดบุรีรัมย์ มันถูกสร้างขึ้นบนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร หรือ 1,320 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล มีการบูรณะก่อสร้างกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู อุทยานประวัติศาสตร์ที่สวยงามแห่งนี้อยู่ห่างจากอำเภอนางรอง 28 กิโลเมตร และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมือ ปี พ.ศ.2475 และได้ประกาศเป็นอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531

 

อิทธิพลของศาสนาฮินดู

ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกลาสที่ประทับของพระศิวะ ปราสาท ตัวอาคาร วัดและสิ่งก่อสร้างอื่น รอบๆเป็นสถาปัตยกรรมของขอม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู  ถ้าคุณใช้เวลาในการเดินดูตามทางเดินเป็นระยะประมาณ 400 เมตร คุณก็จะเจอกับซากปรักหักพัง เป็นภาพที่วาดให้เห็นฉากที่รามายณะและพระเจ้าทั้งหลายของศาสนาฮินดู ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาฮินดูต่อการสร้างอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้

ผลกระทบ

ผลกระทบโดยรวมของการเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งแห่งนี้ มันทำให้เกิดความลุ่มหลงในมนต์เสน่ห์และให้ความรู้สึกที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง รู้สึกเหมือนไปเยือนโลกอื่นที่มีความลึกลับ ตำนาน และสิ่งสวยงามทางสถาปัตยกรรม ซึ่งใช้เวลาเกือบสิบเจ็ดปี ในการก่อสร้าง(1971-1988) ผ่านกระบวนการต่างๆ แต่สุดท้ายก็สร้างแรงบันดาลใจ พนมรุ้งน่าจะเป็นวัดขอมที่สวยงามที่สุดในประเทซไทย รวมทั้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. ด้วยซึ่งมีการเชื่อมโยงกันไปถึงปราสาทพระวิหารนครวัดในกัมพูชาด้วย

 

มีอะไรให้ดู

ภ้าคุณมาเที่ยวที่นี่เป็นครั้งแรก เริ่มจากเดินขึ้นบันได ไปจนถึงตัวอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ทั้งสองข้างทางเดินจะประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูม เรียกว่าเสานางเรียง จำนวน 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งฝังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า และก็จะผ่นหน้าซุ้มประตูระเบียงคตทิศตะวันตก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ที่หน้าบันของระเบียงคตทิศตะวันออกมีภาพจำหลักรูปฤาษีซึ่งหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทย์ประธานแห่งนี้ด้วย ตัวปราสาท ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงศูนย์กลาง ของปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ ที่บริเวณหน้าบันและทับหลัง ของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวของศาสนาฮินดู เช่น พระศิวนาฏราช ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระราม พระกฤษณะ ภาพชีวิตประจำวันของฤาษีเป็นต้น ในช่วงวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี จะเป็นวันที่พระอาทิตย์ขึ้นส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน ชาวบ้านจะเดินขึ้นเขาเพื่อชมความอลังการที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน นอกจากนี้วันที่ 6-8 มีนาคมและ 6-8 ตุลาคมของทุกปีก็มีพระอาทิตย์ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บานเช่นเดียวกัน

ไปอย่างไร

ในการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อย่างแรกเลยคือไปที่จังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้น คุณสามารถเลือกการเดินทางได้ ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคล คุณสามารถเลือกได้ 2 ทาง ทางแรก เดินทางโดยฬช้ถนนทางหลวงมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง)เป็นระยางประมาณ 50 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบล) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโกประมาณ 14 กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อีกประมาณ 12 กม. ก็ถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  ทางที่สอง เดินทางโดยใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 219(บุรีรัมย์-ประโคนชัย)ระยะทาง 44 กม. ถึงอำเภอประโคนชัยแล้วจะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นระยะทาง 21 กม. โดยใช้ถนนทางหลวงหมายเลข2075 และเลี้ยวขวาเข้าถนนทางหลวงหมายเลข2117 ไปถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง นอกจากนี้คุณยังสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากขนส่งบุรีรัมย์ ขึ้นรถสายบุรีรัมย์-จันทบุรี พอถึงหมู่บ้านตะโก ก็ลงรถและวนั่งรถสองแถวหรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

เปิดทำการเวลา 06.00 -18.00 น.

อัตรค่าเข้าชม 40 บาท

ลิ้งค์:

Laisser un commentaire

Ce site utilise Akismet pour réduire les indésirables. En savoir plus sur comment les données de vos commentaires sont utilisées.