หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

ด่านเกวียน เป็นหมู่บ้านเล็กที่มีชื่อเสียง ด้านเซรามิค ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโคราชทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15-20 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักมายเลข 224 ถนนนครราชสีมาโชคชัย(ถนนที่ไปยังดูโฮม)

ประวัติ ด่านเกวียนแต่เดิมพ่อค้าจากนางรอง บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขุนหาญ ขุนขันธ์ เรื่อยไปจนถึงเขมร จะเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับพ่อค้าโคราช และมักจะพักกองคาราวานเกวียนกัน เป็นประจำจนได้ชื่อหมู่บ้านว่า”บ้านด่นเกวียน” และในขณะพัก พ่อค้าเหล่านั้นก็มักจะนำดินจากสองฝั่งลำน้ำมูลมาทำภาชนะใช้สอยต่างๆ เช่น โอ่ง อ่ง ไหปลาร้า ฯลฯ โดยลอกเลียนแบบจากชนชาวข่าวซึ่งเป็นชกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แต่เก่าก่อน หลังจากนั้นเมื่อนำภาชนะเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาของตนและด้วยคุณภาพพิเศษของภาชนะทั้งในด้านสีสันความคงทนต่อการใช้งานจึงทำให้ภาชนะจากด่านเกวียนเป้นที่นิยมชมชอบของผู้คน จนได้รับการเผยแพร่มากขึ้นเป็นลำดับจนได้รับความสนใจอย่างยิ่ง จนเป็นสินค้าหนึ่งในการค้าขอยกันในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน

เซรามิคหรือเครื่องปั้นดินเผาจากด่านเกวียน ทำจากดินเหนียวสีดำเนื้อละเอียดที่ขุดมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า”กุด” ดินดังกล่าวนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูปทนทานต่อการเผาไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และที่น่าสนใจก็คือดินนี้เมื่อถูกเผาแล้วจะได้สีธรรมชาติเป็นสีแดง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก หรือสนิมเหล็กที่มีจำนวนมากในเนื้อดิน เซรามิคและเครื่องปั้นดินเผานี้มีชื่อเสียงไปทั่วทั้งประเทศไทย และยังส่งไปขายถึงเชียงใหม่ กรุงเทพฯ และส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ในจังหวัดนครราชสีมา ด่านเกวียนมีช่อเสียงมากและเรียกว่า หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา

ถ้าอยากได้ราคาที่ถูก ต้องเข้าไปในหมู่บ้าน ไม่ซื้อตรงร้านที่ติดถนนสายหลัก แต่อย่างไรก็ตามร้านค้าที่ตกแต่งอย่างสวยงามที่สุดจะตั้งอยู่บนถนนสายหลักของด่านเกวียน.

Laisser un commentaire

Ce site utilise Akismet pour réduire les indésirables. En savoir plus sur comment les données de vos commentaires sont utilisées.