วัดโพธิ์, กรุงเทพฯ
วัดโพธิ์, กรุงเทพฯ
วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย
พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวาอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน
มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑
ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตกคือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ
เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอาราม หลวง ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบ สิ้น
พระพุทธไสยาสน์ ( พระนอนวัดโพธิ์ )
หมู่พระมหาเจดีย์ (เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔)
องค์สีเขียวประจำ รัชกาลที่ ๑
องค์สีเหลืองประจำรัชกาลที่ ๒
องค์สีแสดประจำรัชกาลที่ ๓
และองค์สีขาบ (สีน้ำเงินปนม่วง) ประจำรัชกาลที่ ๔
วัดประจำรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) แต่จริงๆ แล้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น ส่วนวัดประจำรัชกาลที่ ๑ จริงๆ แล้วก็คือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์” วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้
ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง ได้ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่ง มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร และได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขึ้นเสวยราชสมบัติ และได้ย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนคร มีการสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไปด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง ภายหลังวัดแห่งนี้ก็ได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๑
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวังทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว แบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสแยกจากกันไว้อย่างชัดเจน
มีหลักฐานปรากฏใน ‘ศิลาจารึกวัดโพธิ์’ ไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าแก่ขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ส่วนด้านใต้ คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่ฝีมือเยี่ยม มาร่วมอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อสถาปนาให้เป็นวัดหลวง โดยเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลาถึง ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จและโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๔๔ แล้วพระราชทานนาม “วัดโพธาราม” ใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ประวัติความเป็นมาของการนวดแผนโบราณ
การนวดแผนโบราณพอสังเขปตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เป็น ต้นมา ดังจะเห็นว่าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 รัตนโกสินทร์ตอนต้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปฏิสังขรณ์วัด โพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวงให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤาษีดัดตนและตำราการนวดแผนบรษรไว้ตามศาลาราย
สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงรวบรวมลักษณะโรคและสรรพคุณยา นำเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย จากนั้นได้ตรวจสอบโดยกรมหมอหลวงและบันทึกไว้ในตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ ตำราชุดนี้มี 2 เล่ม คือ “ตำราในโรงพระโอสถ” และ “ตำราพระโอสถ”
สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ อีกครั้ง และโปรดเกล้าฯให้จารึกตำรายา บอกสมมติฐานของโรคและวิธีการรักษาไว้บนแผ่นหินอ่อนประดับตามผนังโบสถ์และ ศาลารายและทรงให้ปลูกต้นสมุนไพรที่หายากไว้ในวัดเป็นจำนวนมากและได้ทรง ปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามและได้จารึกตำรายาไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระ วิหาร มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์ แดนบีช รัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่าหมอ บรัดเล่ย์ ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกมาใช้ เช่นการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ, การใช้ยาควินินรักษาโรคไข้จับสั่น
สมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทยได้เพราะการแพทย์แผนโบราณเป็นวิถี ชีวิตของคนไทย เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมาและโดยทั่วไปคนไทยยังคงนิยม การแพทย์แผนโบราณอยู่
สมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นว่าบรรดาคัมภีร์แผนโบราณ และตำรายาพื้นบ้านของไทยมีคุณประโยชน์ยิ่งยวด พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ทรงห่วงใยว่า วิชาการด้านนี้จะสูญสิ้น ดังมีกระแสพระราชดำรัชว่าด้วยเรื่อง “หมอไทยและยาไทย” ปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 18 พฤษจิกายน รัตนโกสินทร 23 ศก 109 ข้อความว่า “ขอเตือนว่าหมอฝรั่งนั้นดีจริง แต่ควรให้ยาไทยสูญหายหรือไม่ หมอไทยจะควรไม่ให้มีต่อไปภายหน้าหรือควรจะมีไว้บ้าง ถ้าว่าส่วนตัวฉันเองยังสมัครกินยาไทย และยังวางใจในหมอไทย…”
พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่ป่วยไข้ โดยมีทั้งแพทย์แผนโบราณของไทยทำการรักษาและมีแพทย์ฝรั่งร่วมด้วย
พ.ศ. 2432 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยและได้สร้างตำราเล่มแรก ชื่อว่า “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” โดยได้จัดพิมพ์เป็นตอนๆแบ่งออกเป็นภาคกล่าวรวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณและวิชา แพทย์ฝรั่ง โดยมีความประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนราชแพทยาลัยและมหาชนทั่วไป
พ.ศ. 2446 (14 ปีหลังเปิดโรงเรียนแพทย์) การสอนและการปฏิการแพทย์ไทยในหลักสูตรก็ได้ยุติลง ด้วยเหตุผลที่บันทึกไว้ในหนังสือเวชชนิสิตฉลอง 50 ปีศิริราชว่า
“การสอนการแพทย์แผนโบราณของไทยไม่มีหลักสูตรและไม่มีวิธีการปฏิบัติรักษาแน่ นอนจริงจัง และนักเรียนจะรู้เรื่องการแพทย์แผนโบราณของไทยก็รู้ได้อย่างเดียว คือต้องท่องจำตำราทางฝ่ายการแพทย์นี้จำกัดอยู่เฉพาะตำราของหลวง มีการดัดแปลงครั้งเดียวเพื่อให้ง่ายเข้า ซึ่งผิดกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่มีหลักสูตรแน่นอน และตำรามีมากและยังมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยๆ”
สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้ยกเลิกการรักษาแผนโบราณออกจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ทำให้การแพทย์แผนโบราณมีบทบาทต่อสังคมไทยน้อยลง
พ.ศ.2466 ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับประชาชน อันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัดผลจากการออก พระราชบัญญัตินี้ ส่งผลให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากที่ไม่เข้าใจและรัฐบาลอาจจะไม่พร้อมในการประชา สัมพันธ์หรือด้วยประการใดก็มิทราบ เมื่อทราบต่างก็กลัวจะถูกจับ จำเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง แต่ก็ยังมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนน้อยหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ประชาชนส่วนมากยังนิยมยาไทยและการรักษาแบบแผนโบราณ อยู่มากพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ได้ทรงศึกษาเวชกรรม เภสัชกรรมแผนโบราณผนวกกับไสยศาสตร์จากพระเกจิอาจารย์ อาทิ หลวงพ่อศุข(พระครูวิมลคุณาแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท) ได้ทรงเป็นผู้นำในทางการแพทย์แผนโบราณ ทรงให้การรักษาโรคและการเจ็บไข้ได้ป่วยแก่สามัญชนทั่วไปโดยมิได้คิดมูลค่า ใดๆ และมิได้ทรงถือพระองค์แต่อย่างใด จนเป็นที่รู้จักเรียกหากันอย่างกว้างขวางในหมู่ราษฏรแถบนางเลิ้งว่า “หมอพร”
ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน
วันที่ 5 กันยายน 2475 คณะแพทย์แผนโบราณที่มีใบอณุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้ในขณะนั้นได้รวม กันจัดตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยขึ้น ณ วัดเทพธิดาราม พระนครกรุงเทพ โดยการนำของหมอใหญ่ ศีตะวาทิน และได้มีการเปิดสอนวิชาแพทย์แผนโบราณทั้งเวชกรรม เภสัชกรรม หัตถเวชกรรม หมอนวดแผนโบราณและการผดุงครร์โบราณ มีประชาชนสนใจเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 2479 ได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2466 และได้ประกาศพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2479 ขึ้นใหม่ อณุญาตให้มีการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้ ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่า “การประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนโบราณ” หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์และได้จัดแบ่งการแพทย์แผนโบราณออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาเวชกรรม สาขาเภสัชกรรม สาขาการผดุงครรภ์ ให้มีการเรียนแบบสืบทอดความรู้ดั้งเดิมและสามารถยื่นสมัครสอบรับใบสมัครโรค ศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุขได้ปีละ 1 ครั้ง
สมัยรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2500 คณะอาจารย์บางส่วนจากสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยวัดเทพธิดารามได้รวม กันจัดตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ท่าเตียน กรุงเทพ และได้ขอใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม เจ้าอาวาสและท่านเจ้าคุณพระวิเชียรธรรมคุณาธาร รองเจ้าอาวาสเป็นผู้อุปการะตั้งเป็นโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก
ต่อมาคณาจารย์และลูกศิษย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน(วัด โพธิ์) ก็ได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาคมฯอีกมากมายกระจายไปทั่วประเทศ ดังเช่นสมาคมแพทย์แผนโบราณวัดปรินายก สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดสามพระยา เป็นต้น
ประโยชน์จากการนวดแผนโบราณ เท่าที่ได้ศึกษาย้อนหลังและสืบถามจากอาจารย์เก่าๆในสมัยโบราณนั้น หมอนวดต้องรู้จักใช้ยาสมุนไพรและหมอยาสมุนไพรก็จะต้องรู้จักการนวด ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยโบราณยังไม่มีโรงพยาบาลนั้น เวลามีคนไข้หนักชาวบ้านจะไปตามหมอมานอนกินมารักษาที่บ้านคนไข้ หมอก็จะใช้ยาและนวดประกอบเป็นต้น
สำหรับคนไข้ที่ไม่หนักที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงก็จะเดินทางมาเจียดยาที่ บ้านหมอเป็นต้น ประโยชน์จากการนวดแผนโบราณอย่างถูกวิธีจะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลในทุกๆ ด้าน ดังนั้นผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่มีเชื้อโรคอันเกิดจากระบบต่างๆในร่างกาย ผิดปกติไป เช่นปวดเมื่อย ปวดหลัง เข่าเสื่อม ข้อเสื่อม ไมเกรน เทนนิสเอเบิล และระบบอื่นๆที่บกพร่องถ้าได้ทำการบำบัดจากการนวดอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ ประมาณอาทิตย์ละหน อาการต่างๆก็จะบรรเทาเบาบางและหายไป ทำให้สุขภาพดี แข็งแรง ดูไม่แก่
ดังนั้นถ้าบุคคลที่ได้รับการบำบัดสม่ำเสมอก็จะสุขภาพดี จุดประสงค์หลักจองการนวดก็คือ กระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น คนเราถ้าเลือดลมไหลเวียนดี อะไรๆก็ดีหมด
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.