พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและน่าสนใจของประเทศไทยอีกด้วย มีนักท่องเที่ยวมากมายจากหลายที่ทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจในการเข้าชมพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของประเทศไทยคือ กรุงเทพมหานครนั่นเอง
ประวัติ
เมื่อพระระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ.2325 โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2325 หลังพระราชพิธียกหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2326 พระองค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมนเทียร พระมหาปราสาท เปลี่ยนเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ สร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนสร้างพระอารามในพระราชวังหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2328
พระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณะปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชกาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า”บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ”บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้าพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า”พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่าพระบรมมหาราชวังมาจนกระทั่งปัจจุบัน
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อ ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เดิมประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 11 องค์ ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุดจนเกินกว่าการ บูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม พระที่นั่งที่สำคัญของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้แก่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
เป็นพระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้าง โดยถ่ายแบบจากพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทที่อยุธยา สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เป็นปราสาทสี่มุข พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท พระที่นั่งนี้เกิดเพลิงไหม้เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างปราสาทองค์ใหม่ มีขนาดเท่าพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ที่อยุธยา พระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดทรงมณฑปซ้อนเจ็ดชั้นประดับกระจก หลังคาดาดด้วยดีบุก มีมุขเด็จทางด้านทิศเหนือเป็นที่เสด็จออกมหาสมาคม พระที่นั่งองค์นี้มีการซ่อมหลายครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้เปลี่ยนเครื่องยอดจากการมุงดาดด้วยดีบุก เป็นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีพระแท่นราชบัลลังก์ ประดับมุก ปักนพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งอยู่กลางพระมหาปราสาท พระแท่นบรรทมประดับมุก ตั้งอยู่ทางมุขด้านตะวันออก พระแท่นทั้งสองนี้ เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) ทำถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ นับเป็นศิลปวัตถุชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของไทย
พระ ที่นั่งองค์นี้เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระมหา ปราสาทที่เป็นหลักของพระมหานคร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระอัครมเหษี และพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ เช่นพระราชพิธีฉัตรมงคล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้า ฯ ได้เคยโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้เป็นที่ชุมมุมพระสงฆ์ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก และพระองค์ได้ทรงใช้พระที่นั่งพิมานรัตยา (อยู่ที่ส่วนยาวของมุขหลัง มีมุขกระสันต่อถึงกัน) เป็นพระวิมานที่บรรทม และใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่เสด็จออกขุนนางเมื่อคราวซ่อมหมู่พระมหา มณเฑียร
พระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นปราสาทยอดเครื่องไม้ที่มีความงามด้านสัดส่วนทรวด ทรง ครบถ้วนทางสถาปัตยกรรม และครบเครื่องที่เกี่ยวกับความเป็นปราสาท คือ มีห้องท้องพระโรงที่เสด็จออกพระวิมาน ที่ประทับมีปรัศว์ซ้าย ปรัศว์ขวา และเรือนจันทร์ตั้งขวางอยู่ทางท้ายมุข อยู่ในประเภทปราสาทศรี
หมู่พระมหามณเฑียร
พระ มหามณเฑียร หมายถึงที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ใช้เป็นที่บรรทมและเสด็จออกว่าราชการ พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชมณเฑียรที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใช้ในการปราบดาภิเษก และประทับอยู่ตลอด ในรัชกาลต่อ ๆ มาได้ใช้เป็นที่ประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเศกของพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาพระ มหามณเฑียรนี้สร้างเป็นพระที่นั่งหมู่ หันหน้าไปทางทิศเหนือสร้างเป็นแนวตรง และแนวขวางต่อเนื่องกัน โดยมีมุขแล่นถึงกันโดยตลอด ประกอบด้วยหมู่พระวิมานที่บรรทมและท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก มีท้องพระโรงหลัง พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวาหมู่พระมหามณเฑียรนี้สร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกาหางหงษ์ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นในและชั้นกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ เพื่อเป็นที่ประดับตลอดจนมาเสด็จสวรรคต
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
ตั้งอยู่ใน เขตพระราชฐานชั้นใน สร้างเป็นพระที่นั่งยกพื้นสูงเรียงกันสามหลังแฝดหันหน้าไปทางทิศเหนือ องค์กลางเป็นห้องโถง หลังคากระเบื้องเคลือบสี ประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกาเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหามณเฑียร เป็นพระวิมานที่บรรทม ภายในแบ่งเป็นห้องๆ ด้วยพระฉากลายทอง มีพระแท่นบรรจถรณ์ พระแท่นลด แขวนพระมหาเศวตฉัตรกางกั้นห้อง ในพระฉากด้านใต้เป็นห้องทรงเครื่อง ตั้งแท่นพระราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์และเครื่องพระสำอางด้านหลังพระ ที่นั่งมีมุขกระสันลด เรียกว่า ท้องพระโรงใน มีพระปรัศว์ซ้าย ปรัศว์ขวาองค์ขวาชื่อ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส องค์ซ้ายชื่อ พระที่นั่งเทพอาสน์พิไลเป็น ที่ประกอบร่วมกับฝ่ายใน ด้านหน้าพระที่นั่งเป็นมุขกระสันชั้นลดเรียกว่าท้องพระโรงหน้า ตรงกลางพระทวารมีชานและเกยลา หรือพระแท่นลาซึ่งเป็นพระแท่นเตี้ยๆ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ สำหรับเสด็จออกฝ่ายใน และมีบันไดสองข้างพระแท่นลาสำหรับเป็นทางเสด็จท้องพระโรงหน้าพระ ที่นั่งองค์นี้เมื่อแรกสร้างมุงด้วยจาก ต่อมาจึงมุงด้วยกระเบื้องดินเผา เปลี่ยนมาเป็นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ถือกันว่า พระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้บรมราชาภิเษกจะไม่เสด็จเข้าประทับ
ประตู รอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง
ประตู ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เป็นประตูเครื่องยอดไม้ทรงมณฑปซ้อนสามชั้น ทาดินแดง เช่นเดียวกับประตูพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ ประตูและป้อมจึงสร้างแบบหอรบ มีคฤห์อยู่ส่วนบน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้เปลี่ยนแปลงยอดเครื่องไม้เป็นก่ออิฐ ถือปูน เป็นแบบซุ้มทรงฝรั่ง ปัจจุบันประตูดังกล่าวเหลืออยู่เพียงบางแห่งเช่นที่ประตูรัตนพิศาล
ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้เปลี่ยนประตูจากทรงฝรั่งเป็นทรงปรางค์ เช่น ประตูวิมานเทเวศน์ ประตูวิเศษไชยศรี ประตูมณีนพรัตน์ ประตูสวัสดิโสภา ประตูเทวาพิทักษ์ ประตูศักดิ์ชัยสิทธิ ประตูดังกล่าวแม้จะเป็นทรงปรางค์แบบไทย แต่ก็ประกอบด้วยซุ้มบัณแถลง โดยเลียนเครื่องยอดทรงมณฑป ลดชั้นองค์ระฆังยอดใส่ปรางค์ แทนที่จะใส่เหมและบัวกลุ่ม นับว่าเป็นทรงปรางค์อีกแบบหนึ่งที่แปลกออกไป ส่วนประตูศรีสุนทร ทำเป็นทรงปรางค์ มีบัณแถลงใหญ่ ที่สันบัณแถลงใส่บราลีแบบบราลี ปักยอดปราสาท เป็นบราลีแบบปรางค์จึงนับว่าเป็นประตูที่แปลกอีกประตูหนึ่ง
ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ประตูวังได้เปลี่ยนเป็นประตูยอดแบบใหม่เพียงประตูเดียวคือ ประตู เทวาภิรมย์ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก ยอดประตูแห่งนี้ได้เปลี่ยนจากประตูหอรบเป็นประตูยอดในคราวเดียวกันกับประตู ประตูสามยอด
ประตูชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง มีทั้งหมด๑๓ ประตู เรียงลำดับจากด้านตะวันตกของ กำแพงพระบรมมหาราชวัง เวียนขวา(ทักษิณาวัตร)ได้ดังนี้
ประตูรัตนพิศาล อยู่ทางด้านตะวันตก (เรียกชื่อ สามัญว่า ประตูยี่สาน)
ประตูพิมานเทเวศน์ อยู่ทางด้านทิศเหนือ
ประตุวิเศษไชยศรี อยู่ทางด้านทิศเหนือ
ประตูมณีนพรัตน์ อยู่ ทางด้านทิศเหนือ ตรงกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านเหนือ (เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าประตูฉนวนวัดพระแก้วมรกต เพื่อออกไปทุ่งพระเมรุ)
ประตูสวัสดิโสภา อยู่ ด้านทิศตะวันออก ตรงกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านตะวันออกตรงกับศาลาว่าการกลาโหม(มีชื่อ เรียกเป็นสามัญว่าประตูทอง เพราะมีผู้เอาแผ่นทองคำเปลวไปปิดบูชาพระแก้วมรกตอยู่เสมอ)
ประตูเทวาพิทักษ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางเหนือพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ใต้ป้อมสิงขรขันธ์
ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางใต้พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ประตูวิจิตรบรรจง อยู่ทางด้านทิศใต้ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนทางด้านเหนือ และข้างในตรงกับพระตำหนักเดิมสวนกุหลาบ (ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์)
ประตูอนงคารักษ์ อยู่ทางด้านทิศใต้ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนทางด้านเหนือ (มีชื่อเป็นสามัญว่าประตูผีชั้นนอก)
ประตูพิทักษ์บวร อยู่ ทางด้านทิศใต้ เป็นประตูด้านสกัดทางใต้ ตรงกับถนนมหาราช ข้างในตรงกับถนนสกัดกำแพง พระบรมมหาราชวัง (มีชื่ออย่างหนึ่งว่าประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม)
ประตูสุนทรทิศา อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือตรงกับถนนแปดตำรวจเดิม
ประตูเทวาภิรมย์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามท่าราชวรดิษฐ์ (เรียกชื่อเป็นสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน)
ประตูอุดมสุดารักษ์ อยู่ทางด้านทิศใต้ เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษฐ์
หากมี ใครสักคนมาถามว่า มากรุงเทพครั้งแรกจะไปเที่ยวที่ไหนดี คำตอบเห็นจะไม่พ้น “วัดพระแก้ว” เป็นแน่ เพราะความที่วัดพระแก้วรวมไปถึงพระบรมมหาราชวัง เปรียบเสมือนเป็นหัวใจแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยังคงความยิ่งใหญ่และงด งาม อวดให้ใครได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของราชอาณาจักรแห่งนี้
การ จะเข้าไปชมพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญยิ่งของชาติด้วย จึงมีข้อกำหนดเรื่องการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ แต่ก็อาจทำให้หลายคนเกร็ง ๆ กันอยู่เวลาจะเข้าไปเที่ยวชมกัน ก็เลยขอให้ข้อมูลเรื่องการแต่งกายไว้หน่อยว่า
เสื้อ จะต้องเป็นเสื้อที่มีแขน ประเภทสายเดี่ยวหรือเสื้อแขนกุดนี่ไม่ได้เลย เนื้อผ้าก็อย่าให้บางเบาจนเกินไป
ส่วน กางเกง จะต้องเป็นกางเกงยาวคลุมตาตุ่ม จะเป็นกางเกงยีนส์ก็ได้ ที่ไม่ได้จะเป็นพวกกางเกงสามส่วน กางเกงกระโปรง หรือกางเกงเล ส่วนคุณผู้หญิงจะสวมกางเกงก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะเป็นกระโปรงก็ต้องเป็นกระโปรงที่ไม่สั้นจนเกินไป
รองเท้า นี่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศเขาต้องให้เป็นรองเท้าหุ้มส้นเท่านั้น แต่เท่าที่เห็นรองเท้าที่มีสายรัดส้นก็ใช้ได้แล้ว สำหรับคนไทยยังอนุโลมเรื่องรองเท้าแตะ แต่เขาวงเล็บไว้ว่า (สำหรับผู้ที่มาจากต่างจังหวัด) แต่ถ้าแต่งกายไม่ถูกต้องยังไง ทางสำนักพระราชวังก็จัดเสื้อผ้าให้ยืมฟรีตรงประตูวิเศษไชยศรี แต่ต้องวางเงินประกันชิ้นละ 100 บาท กับบัตรประชาชนเอาไว้ซึ่งก็ยุ่งยากเสียเวลา เพราะจะมีต่างชาติมาใช้บริการกันตลอด
ยังไงแต่งตัวให้เรียบร้อยมาเลยดีกว่า ยิ่งแต่งผ้าไทยมาถ่ายรูปที่นี่ สวยอย่าบอกใครเชียวพอ ผ่านประตูพิมานไชยศรีที่เป็นประตูทางเข้าหลัก อยู่เยื้อง ๆ กับหัวมุมสนามหลวง เดินตรงเข้ามาจะมีห้องจำหน่ายบัตรเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ ค่าบัตรคนละ 400 บาท (เริ่มตั้งแต่ 1 ส.ค. 54)บัตร นี้สามารถเลือกใช้เข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม หรือพระราชวังสนามจันทร์ที่นครปฐม ได้ด้วย แต่ไม่ต้องรีบบึ่งไปวันเดียวกันก็ได้ เพราะสามารถใช้ได้ภายใน 7 วัน
ส่วนคนไทยไม่ต้องเสียค่าเข้าชม ตรงซุ้มตรวจบัตรเข้าชมจะมีช่องเฉพาะสำหรับคนไทยอยู่ทางซ้าย
ถ้าใครที่พาเพื่อนต่างชาติไปแล้วบรรยายไม่ถูก ให้ไปเช่าเครื่องPAG หรือ Personal Audio Guide ที่สำนักพระราชวังเขาจัดไว้ให้ ค่าเช่า 200 บาทต่อ 2 ชั่วโมงอยู่ถัดจากซุ้มขายบัตรมานิดเดียว
เจ้าเครื่องที่ว่าจะมาพร้อมแผนที่ที่มีเบอร์ ของสถานที่สำคัญแต่ละที่ในวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง พอไปอยู่ตรงไหนก็กดปุ่มตัวเลขบนเครื่องให้ตรงกัน ก็จะได้ฟังคำบรรยายนำชมสถานที่นั้นแล้ว ง่าย ๆ แค่นี้เอง
ส่วนภาษาที่มีให้เลือกกันก็มี อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีนกลาง รัสเซีย สเปน และที่สำคัญ ภาษาไทยเราก็มีด้วย
หรือถ้าชอบให้มีคนพาเดินพาชม อาจจะใช้บริการไกด์เอกชนที่มารอให้บริการกันอยู่ตรงตรงหน้าประตูทางเข้า ใกล้ๆ กับที่มีเจ้าหน้าที่ยืนตรวจตราเครื่องแต่งกายก็ได้
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.