ท้าวสุรนารี
ท้าวสุรนารี
ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้กอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ.2369 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าท้าวสุรนารีมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เนื่องจากเรื่องราวของท้าวสุรนารีพบในหลักฐานเป็นบันทึกที่ออกเผยแพร่ภายหลัง พ.ศ. 2475 เท่านั้น ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม”เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2214ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้ากรุงเทพสมัยกรุงเทพมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับท้าวสุรนารี ดูได้ที่ :
– www.thekoratpost.com/ladymo.html
– www.thailandsworld.com/index.cfm?p=465
– en.wikipedia.org/wiki/Thao_Suranaree
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง อยู่หลังประตูเมืองเก่า มีผู้มาเข้าชมและมานมัสการทุกวัน จากทั่วทั้งประเทศ เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ และต่อมาได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้าประตูชุมพลอนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหรือ ย่าโม เป็นจุดนัดพบของคนในโคราช ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีการต่างๆของจังหวัดหรือของเมือง ก็ล้วยแล้วแต่มาจัดที่ย่าโมแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาล งานประจำปี หรืองานอื่นๆของทางจังหวัด ซึ่งจะมีเวที มีการแสดง มีสินค้ามากมายรวม ทั้งอาหาร มีเพลงโคราช เป็นเพลงท้องถิ่นของคนโคราช จะมีอยู่ทางด้านหลังย่าโมซึ่งจะเป็นการร้องและรำ ถวายแก่ย่าโม เป็นการบวงสรวง และแก้บนสำหรับคนที่มาบนบานสานกล่าว ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นเมืองเก่าของโคราช (ประตูชุมพล) ซึ่งด้านหน้าฝั่งตรงข้ามเป็นวัดสไตล์จีนอยู่รอบๆเมือง (ศาลเจ้าพ่อไฟ)
อีกสถานที่หนึ่ง คือ วัดศาลาลอย เป็นวัดที่สวยงามและมีรูปปั้นของท้าวสุรนารี ให้คนมาสักการะบูชา เพื่อบนบานขอพรย่าโมให้ปกป้องคุ้มครอง โดยเฉพาะเรื่อของคู่ครอง
จุดเด่นของวัดอยู่ที่พระอุโบสถ ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516 เป็นอุโบสถที่สร้างแบบศิลปไทยประยุกต์ เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน นำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพ พุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์” หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี
ทางจังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนชาวนครราชสีมา ได้การจัด งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะ เชิดชูเกียรติ ในวีรกรรมของท้าวสุรนารี และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน ของทุกปี
สำหรับประวัติ และตำนานของย่าโม เกี่ยวกับวีรกรรม ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ คุณสามารถหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมได้ เพราะมีหนังสือเผยแพร่มากมาย
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.