อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
อุทยานแห่งชาติภูเรือ เป็นอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และอำเภอท่าลี่ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผา สีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84ตารางกิโลเมตร เป็นภูเขาสูงบนยอดเขาเป็นที่ราบกว้างมีต้นสนจำนวนมาก ขึ้นสลับซับซ้อน มีลักษณะแปลกก็คือ มีส่วนหนึ่งเป็นผาชะโงกยื่นออกมาเหมือนหัวเรือสำเภาขนาดใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติภูเรือเมื่อมองโดยรอบ ในที่สูง จะเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนกันสวยงาม ประกอบด้วยเขาหินประเภทต่าง ทรายและหินแกรนิสสสับกัน สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมี เก้ง หมาใน ไก่ฟ้าพญาลอ เต่าปูลู อุทยานภูเรืออยู่บนยอดเขาสูงทำให้มี อากาศหนาวเย็นตลอดปีและเป็นอุทยานที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศโดย เฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัว ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “แม่คะนิ้ง” มีเนื้อที่ประมาณ 75,525 ไร่ ช่วงเดือนที่เหมาะที่จะมาเที่ยวคือเดือนตุลาคม-มีนาคม กิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจที่ นักท่องเที่ยวนิยมทำในจังหวัดภูเรือได้แก่ การชิมไวน์ ชาโต้เดอเลย, การชมวัฒนธรรมพื้นบ้าน
[mapsmarker marker=”102″]
ในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ
พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า“ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวย งาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาฮี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยาน แห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
ด้วย อุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
ภู เรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี
อุทยานแห่งชาติภูเรือมีความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่าทั้งหมด 257 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์ที่พบเห็นตัวโดยตรงหรือร่องรอยและหลักฐานของสัตว์ป่าจำนวน 236 ชนิด และสัตว์ป่าที่ได้ ข้อมูลจากการสอบถามจำนวน 21 ชนิด จำแนกเป็นจำนวนชนิดของสัตว์ป่าแต่ละกลุ่มคือ
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด
- สัตว์เลื้อยคลาน 38 ชนิด
- นก 162 ชนิด และ
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 37 ชนิด
สัตว์ป่าที่รวบรวมได้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือไม่ปรากฏว่ามีสัตว์ป่า ชนิดที่มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าสงวนแต่มีสภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 194 ชนิด และมีสัตว์ ป่าอีก 63 ชนิด ไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2546
สัตว์ป่าที่ต้องการอนุรักษ์ตามภาวะการถูกคุกคามในประเทศไทย ตามประกาศสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(2540) มีจำนวน 7ชนิด แจกแจงเป็น
- สัตว์ป่ามีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ เต่าปูลู ไก่ฟ้าพญาลอ ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมาจิ้งจอก หมาใน และเสือโคร่ง และ
- สัตว์ป่าใกล้ถูกคุกคามจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยวปีกแดง สัตว์ป่าที่มีสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ตามภาวะการถูกคุกคามในระดับโลกของ IUCN (2004) มีจำนวน 2 ชนิด แจกแจงเป็น (1) สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์จำนวน 1 ชนิด คือ หมาไน และ (2) สัตว์ป่าใกล้ถูกคุกคามจำนวน 1 ชนิด คือ ไก่ฟ้าพญาลอ
ด้วยสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ทั้งสองเกณฑ์อธิบายได้ว่า เต่าปูลู เหนี่ยวปีกแดง ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมาจิ้งจอก และเสือโคร่ง ซึ่งมีประชากรมากและแพร่กระจายกว้างอยู่ในภูมิภาพอื่นของโลก แต่ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ลดลง ขณะที่สัตว์ป่าจำนวน 2 ชนิด มีปริมาณประชากรและขอบเขตการแพร่กระจากลดลงทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาพอื่น ของโลก ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ และหมาไน
ผาโหล่นน้อย
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่งและทะเลภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม :ชมทิวทัศน์
ผาซำทองหรือผากุหลาบขาว
เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นแหล่งน้ำซับ ประกอบกับมีไลเคนที่มีสีเหลืองคล้ายสีทอง ซึ่งเรียกว่า “ผาซำทอง” เป็นจุดชมทิวทัศน์อีกจุดหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางที่จะไปผาโหล่นน้อยประมาณ 2.5 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยไผ่
เป็นน้ำตกสูงชัน สูงประมาณ 30 เมตร สายน้ำพุ่งแรงใสสะอาด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือ
การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติภูเรือ อยู่ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 48 กิโลเมตร โดยเดินทางไปโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 ถึงอำเภอภูเรือ จะมีป้ายอุทยานแห่งชาติอยู่ปากทางเข้าซึ่งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอภูเรือ (มาจากจังหวัดเลย ป้ายจะอยู่ทางด้านขวามือ มาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ป้ายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) จากปากทางเข้าเดินทางต่อไปอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถนนภายในอุทยานแห่งชาติเป็นถนนลาดยาง เป็นถนนบนภูเขา บางช่วงมีความลาดชัน นักท่องท่องเที่ยวควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ใช้เกียร์ต่ำ มิฉะนั้นจะทำให้เบรคไหม้ได้
เครื่องบิน
การเดินทางโดยเครื่องบิน
- เส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรฯ และนั่งรถประจำทางสายอุดรฯ-เมืองเลย
- เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น นั่งรถประจำทางสายขอนแก่น-เมืองเลย เมื่อมาถึงจังหวัดเลยสามารถนั่งรถประจำทางประมาณ50 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเรือ
- กรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์
รถโดยสารประจำทาง
เดินทางจากกรุงเทพฯ มี 2 เส้นทาง คือ
1.รถสายกรุงเทพฯ-ภูเรือ
2.รถสายกรุงเทพฯ-เมืองเลย และนั่งรถประจำทาง ดังนี้
- สายเมืองเลย-ภูเรือ
- นครพนม-เชียงราย
- อุดรฯ-พิษณุโลก
- อุดรฯ-เชียงใหม่
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.