ไฮไลต์ภูฏาน
ไฮไลต์ภูฏาน
ภูฏานมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งมีความสวยงาม และคงความเป็นธรรมชาติที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ แต่ก็มากด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมต่างๆ ถึงแม้ว่าประเทศภูฏานจะเปิดรับนักท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ
พาโรซอง
พาโรซอง (Paro Rinchen Pong Dzong) สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1645 ถูก สร้างบนพื้นที่ ที่เด่นตระหง่านอยู่ในหุบเขาพาโร ทางเข้าตัวซองจะมีสะพานไม้ที่สวยงามพาดผ่านแม่น้ำเพื่อเข้าสู่ตัวซอง ปัจจุบันพาโรซองเป็น ทั้งสถานที่สำหรับส่วนบริหารเมืองพาโร และส่วนที่เป็นวัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ประมาณ 200 รูป
เมืองทิมพู
เมืองทิมพู เมืองหลวงแห่งประเทศภูฏาน ชม Memorial Chorten หรือ มหาสถูปที่พระเจ้า จิกมี ดอร์จี วังชุก ซึ่งเป็นพระชนกของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน (พระเจ้า จิกมี ซิงเย วังชุก) พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ที่ปกครองภูฏาน ในช่วงปี ค.ศ. 1952 – 1972 และทรงได้รับพระฉายาว่า “พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่” (King of Merdernization) มี ประสงค์จะสร้างเพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา แทนสัญลักษณ์ กาย วาจา และใจ ของพุทธศาสนา แต่ท่านได้เสียชีวิตลงเสียก่อน สมเด็จพระราชินีจึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ
วัดชันกังคา
วัดชันกังคา (ChangangkhaTemple) วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ซึ่งถูกสร้างในค.ศ. ที่ 14 หรือ กว่า 600 ปี มีความงดงามมาก เป็นที่สักการบูชาของชาวภูฏาน
วัดแม่ชี ซิลูคา
วัดแม่ชี ซิลูคา (Zilukha Nunnary) ซึ่งเป็นวัดแห่งเดียวในทิมพูที่มีแม่ชีจำวัดและศึกษาเล่าเรียนอยู่
วัดทักซัง
อันดับ 1 วัดป่าทักชัง – Taktshang Goemba หรือ “รังเสือ – Tiger Nest” ประเทศภูฏาน Bhutan ชายเขตเมืองปาโร อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวพุทธในภูฏาน ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูฏาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 700 เมตร จากพื้นล่างในหุบเขาปาโร และด้วยระดับความสูง 3,120 เมตร จากระดับน้ำทะเล ฉายาว่า “รังเสือ” ของวัดนี้ ได้มาจากตำนานเก่าที่เล่าว่า พระรินโปเช (Padmasambhava – Guru Rinpoche) ซึ่ง เป็นผู้เผยแพร่นิกายมหายานในภูฐาน ได้เหาะมาที่นี่บนหลังเสือ และได้เข้าไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ เป็นเวลาถึง 3 เดือน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2227 จึงเริ่มมีการสร้างวัดขึ้น
ทาชิโชซอง
ทาชิโชซอง (Tashicho Dzong) ซึง เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองหลวงทิมพู ซองแห่งนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามมากและใหญ่โต ปัจจุบันถูกใช้แยกเป็นส่วนต่างๆ เช่น สถานที่ทำงานของกษัตริย์ สถานที่พักในฤดูร้อนของสมเด็จพระสังฆราช ตลอดจนสถานที่ทำการของรัฐบาล
ปูนาคา
ปูนาคา อดีตราชธานีของภูฏาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1639 – 1955 ซึ่งสร้างและปกครองโดย ชับดรุง งาวังนัมเกล (Shabdrung Ngawang Namgyal) เป็นพระลามะจาก ธิเบตที่ธุดงค์มาถึงภูฏาน ระยะทางจากเมืองทิมพูสู่ปูนาคาประมาณ 77 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ช.ม. ระหว่างทางท่านสามารถชมทิวทัศน์ของภูเขาสูงสลับกับแม่น้ำลำธารน้อยใหญ่ ที่ใสสะอาด ตามข้างทางจะเห็นดอกกุหลาบพันปี (Rhododendron) การทำสวนแอปเปิ้ลและอาจจะพบ จามรี (Yak) ซึ่งเป็นสัตว์ที่พบได้ในที่สูงเท่านั้น
จุดชมวิว ดอร์ชูลา
จุดชมวิว ดอร์ชูลา (DorchulaPass) ที่ความสูง 3,150 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นช่องเขาที่สามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยได้ในระยะใกล้ มีความสูงอยู่ในระดับ 3,100 เมตร บางวันก็จะเห็นทะเลหมอกปกคลุมอยู่ทั่วไป
คำซำยูเล
คำซำยูเล (Khamsum Yuley Chorten) ซึ่งเป็นสถูปขนาดใหญ่สร้างอยู่บนเขาต้องใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 30 นาทีสถูปแห่งนี้สร้างโดยหนึ่งในราชินีของ ภูฏานเพื่อความเจริญรุ่งเรือง และมีพระชมน์ชีพยืนยาวของมงกุฏราชกุมารแห่งภูฏาน ตลอดจนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในประเทศภูฏาน
วังดีโปดรัง
วังดีโปดรัง (Wangdi Phodrang) เป็นเมืองในอดีตที่สำคัญของประวัติศาสตร์ภูฏาน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองปูนาคาประมาณ 13 กิโลเมตร เยี่ยมชม วังดีโปดรังซอง สร้าง ในปี ค.ศ.1638 ซองแห่งนี้ตั้งอยู่บนสันเขาระหว่างแม่น้ำ พูนาค และแม่น้ำดาง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในเมืองพาโร
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในเมืองพาโร ซึ่งในอดีตเคยเป็นป้อมปราการ หรือตาซอง (Ta Dzong) แต่ ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ.1968 มีทั้งหมด 6 ชั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บรวบรวมเครื่องแต่งกาย อาวุธ เหรียญกษาปณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ไม้สอย สัตว์ป่าในแถบเทือกเขาหิมาลัย ตลอดจนดวงตราไปรษณีย์ที่สวยงามมากมายหลายรูปแบบ
ปูนาคาซอง
ปูนาคาซอง (Punakha Dzong) ซึ่ง เป็นที่ประทับของพระสังฆราชในฤดูหนาว เนื่องจากปูนาคา มีอากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงเพียง 1,468 เมตร เท่านั้น เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่นี่จึงมีอากาศอบอุ่นกว่าในช่วงฤดูหนาว ด้านหน้าของปูนาคาซองจะเป็นจุดที่แม่น้ำโพ (Po Chu) และแม่น้ำโม (Mo Chu) ซึ่งหมายถึง แม่น้ำพ่อ และแม่น้ำแม่ไหลมาบรรจบกันพอด
อาหารของภูฏาน
ภูฏาน เป็นอีกประเทศที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารทุกมื้อ ตั้งแต่มื้อเช้า ไปจนถึงมื้อค่ำ โดยส่วนใหญ่จะบริโภคอยู่สองประเภทคือ ข้าวขาว และข้าวแดง ข้าวขาวนั้นส่วนใหญ่จะได้รับความนิยม ในแถบตัวเมือง อย่างทิมพู และพาโร ส่วนในเขตชนบทจะบริโภคข้าวแดง
ใน โอกาสสำคัญ ๆ ชาวภูฏานจะมีเมนูข้าวที่น่าสนใจ คือ เดซิ (Desi) เป็นการนำข้าวขาว มาผสมกับเนย น้ำตาล ลูกเกด หรือลูกองุ่นแดง และผงสีเหลืองอมส้มทำจากดอก Crocus กับอีกเมนูคือ โซว์ (Zow) หรือข้าวผัด ที่ผัดกับน้ำตาล เนย ซึ่งว่ากันว่าทั้งสองเมนู เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า จิ๊กมี วังชุก เป็นอย่างยิ่ง
ใน แถบทางภาคตะวันออกของภูฏาน จะมีการปลูกข้าวสาลี เพื่อเป็นอาหารหลัก โดยส่วนใหญ่ จะนำมาทำเป็น พูตา (Puta)หรือ เส้นก๋วยเตี๋ยวข้าวสาลี ส่วนแถบภาคใต้ มักจะนำ ข้าวโพดมา ตากกับ หน่อไม้แล้วบดรวมกัน เพื่อทำเป็น คารัง (Kharang) เพื่อนำไปใส่ในแกง และทำเป็นโจ๊ก สำหรับมื้อเช้า
ฃส่วนมากชาว ภูฏานจะเสิร์ฟข้าวในภาชนะที่สานจากไม้ไผ่ ที่เรียกว่า บังจุง (bangchung) ซึ่งเป็นผลผลิตจากเมืองเก็ง ( Kheng province) และนอกจากจะใช้ใส่ข้าวแล้ว บังชุงยังเป็นของฝาก จากภูฏานที่สามารถนำมาประดับผนังบ้านได้ด้วย
สำหรับ กับข้าวนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า หลายประเทศแถบเอเชีย ไทยมีวัฒนธรรมการนำพริก มาเป็นส่วนประกอบ ของอาหาร และภูฏานเองก็เช่นกัน ทว่าสิ่งที่ทำให้อาหารภูฏาน ต่างออกไปก็คือ ชาวมังกรฟ้าร้อง ไม่ได้ใช้พริกเป็นเครื่องเทศ แต่กลับบริโภคพริกกันแบบ ผักเลยก็ว่าได้ ดังนั้นบนหลังคาบ้านชาวภูฏาน ส่วนใหญ่จึงมักดารดาษไปด้วย พริกสีแดงๆ ที่ชาวบ้านมักนำมาตาก เพื่อจะได้เก็บไว้ใช้นานๆ นั่นเอง
เรา จึงกล่าวได้ว่า พริกเป็นอาหารประจำชาติของภูฏาน และมีหนึ่งเมนูที่น่าสนใจ และพบได้ในบ้านชาวภูฏานทุกครัวเรือนก็คือ “อีมา ดัตชี” (Ema Datshi) หรือแกงพริกใส่ชีส ที่เรียกอย่างนี้เพราะดูๆ ไปแล้วส่วนผสมหลักของอาหารจานนี้จะเป็นพริกสดล้วนๆ โดยมีชีสเข้ามาเบรกรสร้อนระอุเท่านั้น
ส่วน สาเหตุที่ว่า ทำไมคนหน้าแบบตี๋และหม๋วยของที่นี่ถึงได้บริโภคพริกกันเก่ง เช่นนี้ ก็ได้คำตอบว่า เพราะอาจมาจากการที่พริกช่วยให้ความอบอุ่นได้ ในสภาพภูมิประเทศ ที่หนาวจับจิตบนเทือกเขา เช่นนี้
เครื่องดื่ม
ภูฏานมีเครื่องดื่มทั้งชาและกาแฟ กาแฟคือกาแฟสำเร็จรูปยี่ห้อเนสกาแฟ ส่วนน้ำชามีทั้งชาฝรั่ง (เป็นซอง) และชาท้องถิ่น ภาษาซองคาเรียกชาว่า ngad-ja ชาวภูฏานนิยมดื่มชาแบบทิเบตคือใส่เนยกับเกลือ ในบางท้องถิ่นกินชาแบบอินเดียวคือต้มชากับนม ส่วนน้ำดื่มนั่น ถ้านักท่องเที่ยวไม่ชอบดื่มน้ำต้ม ซึ่งปลอดภัยกว่าน้ำก๊อก อาจะซื้อน้ำแร่ของภูฏานดื่มได้ น้ำแร่ภูฏานเป็นน้ำแร่คุณภาพดี (ไม่รวมกับค่าอาหารนักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินค่าน้ำแร่ต่างหาก) ส่วนทางตะวันออกของประเทศที่อยู่ติดกับอินเดียมีน้ำแร่ที่นำเข้าจากอินเดีย มาวางขายเต็มตลาด นอกจากนี้ภูฏานยังมีน้ำผลไม้กล่องและน้ำกระป๋องหลายอย่างที่ผลิตขึ้นใน ประเทศ เช่น น้ำแอปเปิ้ล (อร่อยมาก) น้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม และน้ำสับปะรด (นิยมเสิร์ฟในภัตตาคารและโรงแรม) ส่วนน้ำอัดลมนำเข้าจากอินเดียก็มี เช่น เป็ปซี่ เป็นต้น
ภูฏานมีเบียร์ทำในประเทศชื่อ Red Panda และเบียร์ทำจากข้าวสาลี ชื่อ Weissbier นอกจากนั้นเป็นเบียร์กระป๋องนำเข้า เช่น Tiger Beer จากสิงคโปร์ และเบียร์นำเข้าจากอินเดียอีกหลายยี่ห้อที่ดังๆและนิยมดื่มกัน คือ Black Label และGolden Eagle จากสิกขิม นอกจากเบียร์แล้วยังมีเหล้าและไวน์ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ (ซื้อได้ที่ร้านดิวตี้ฟรีในเมืองทิมพู) แต่ราคาค่อนข้างแพงประเทศภูฏานมีกฎห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในวันอังคาร ในวันนั้นภัตตาคารทุกแห่งจะไม่ขายเหล้าเบียร์ส่วนวันอื่นๆคนในภูฏานจะตั้งวง ดื่มได้หลังบ่ายโมงไปแล้ว
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.