อยากไปเที่ยวภูฏาน
ท่องเที่ยวเมือง ภูฏาน
ภูฏานเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติของภูฏานก็ยังมีอยู่มาก นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินป่า ล่องเรือ เพื่อชื่นชมกับทัศนียภาพของภูฏานได้
“สิ่งต่างๆที่ควรรู้ก่อนที่จะไปภูฏาน”
ประวัติศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วง พุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้ เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453
ภูมิประเทศ
ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
- เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
- ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
- ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน
ภูมิอากาศ
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 25 – 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 – 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
- ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
- ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
- ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
- ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
จำนวนประชากร
มีประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน
เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
ประชากร
กลุ่มประชากร ภูฎาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มดรุกปาส มีประมาณ 67 % ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือพวกเชื้อสายธิเบต (รูปร่างหน้าตาเหมือนไทย) ภาษาที่ใช้คือภาษาซองก้า และพวกซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุดเนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มี ประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ
กลุ่มที่สำคัญรองลงมาจะมีอยู่ประมาณ 20 % คือพวกเนปาลี ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศ ภูฎาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิม คือประเทศเนปาล
กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13 % คือพวกชาวธิเบต, ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย
เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น เราจะขอยกตัวอย่างในเมืองที่พวกเราไปเยือน คือ ทิมพู (Thimphu) และปาโร (Paro) อย่างแรกที่จะขอพูดถึงก็คือ ผ้าทอพื้นเมืองของชาวภูฐาน ซึ่งปัจจุบันได้มีการผลิตขึ้นมาเพื่อขายแก่นักท่องเที่ยว เป็นรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง ผ้าทอของเขานี้มีชื่อเสียงมากทีเดียว มีทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหม ลวดลายของผ้าทอนั้น มีสีสันสวยงาม ลักษณะคล้ายผ้าทอทางอีสานบ้านเรา ส่วนราคาค่อนข้างแพงพอสมควร มีตั้งแต่ 15 เหรียญอเมริกัน จนถึง 2000 เหรียญเลยทีเดียวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อผ้าและลวดลายของผ้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการทอ และสีธรรมชาติที่ใช้ย้อม เขาเรียกผ้าทอนี้ว่า “คาลิง” (Khaling) ผ้า ทอเหล่านี้จะไม่ได้ขายเป็นเมตร แต่จะขายเป็นผืนๆ ไป และจะใช้เป็นผ้านุ่งของสตรีพื้นเมืองโดยเฉพาะ จะเรียกการแต่งกายของผู้หญิงชุดนี้ว่า “คีร่า” (Klra) ซึ่งประกอบด้วย เข็มขัดคาดเอว และเข็มกลัดที่จะใช้ในการแต่งองค์ทรงเครื่องของฝ่ายหญิง ส่วนเสื้อผ้าชายจะเรียกว่า “โก” (Go) ส่วน ใหญ่เป็นผ้าฝ้ายมีหลายลวดลาย มีทั้งลายทาง ลายขวาง ตาหมากรุก สีพื้นๆ ก็มี ตัดสำเร็จรูปวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งราคาก็มีแพงมีถูกพอสมควร ส่วนผ้าอีกชนิดหนึ่ง ทีเรียกว่า “แก็บเน่” (Kabne) เป็นผ้าผืนสะพายแล่งสำหรับผู้ชายที่จะใช้ในโอกาสพิเศษ ซึ่งทอจากผ้าไหม มีทั้ง สีขาว…ดำ…น้ำเงิน…แดง และส้ม และผ้าทออีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นผ้าขนสัตว์ ใช้ทอเป็นเสื้อ แจ็คเก็ท หรือพรม เรียกว่า ยัตตราส (Yatras) ราคาอยู่ระหว่าง 60-80 เหรียญอเมริกัน ที่พิเศษไปกว่านั้น ก็คือผ้าที่ทอจากขนตัวจามรี (Yak) ซึ่ง ที่ทั้ง สีขาว และสีดำ ลักษณะขนของมันค่อนข้างหยาบสามารถนำมาทอเป็นพรม และกระเป๋าได้ด้วย ใช้งานได้ทนทาน สินค้าชิ้นต่อไปจะเป็นพวกงานไม้แกะสลักงานสานกระบุงตะกร้า ที่ทำกันในครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากไม้ไผ่ราคาจะอยู่ระหว่าง1.50 – 15 เหรียญอเมริกัน ขึ้นอยู่กับขนาด-มีทั้งเป็นกระจาดทรงกลมใช้บรรจุอาหารพวกเนยแข็ง-พวกอาหารต่าง ๆ จะเรียกว่า บันจุง (Banchung) หรือ ภูฐานีย ทัปเปอร์แวร์ (Bhutanese Tupperware) สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ส่วนพวกเครื่องเงินที่ทำเป็น กาน้ำ ระฆัง ตลับเงิน เครื่องประดับ จะมีราคาค่อนข้างสูงไม่ว่าจะเป็นเข็มกลัดที่เป็นเครื่องประดับติดที่เสื้อผ้าของสตรีพื้นเมืองก็
ตาม ราคาจะตกประมาณ 40-400 เหรียญ ซึ่งแพงจนไม่กล้าจับ แต่อย่างว่า ถ้าต้องการจะซื้อไว้เป็นของที่ระลึกว่าได้มาเยือนภูฐานแล้วก็อาจจะกัดฟันซื้อได้
เมืองหลวง : ทิมพู
ศาสนา : 70% ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาฮินดู และ
4.9% นับถือศาสนามุสลิม และประมาณ 0.1% นับถือศาสนาคริสต์
ภาษา : ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองก้า ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของ ภูฐาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติเครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โก ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า คีร่า
โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะใน ภูฎาน เพื่อความสะดวกกรุณาติดต่อกับทางโรงแรมที่ท่านพัก
· หากจะโทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์จะต้องหมุน 001 + 66 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
· หากจะโทรศัพท์จากประเทศไทยสู่ประเทศภูฎาน จะหมุน 001 + 975 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
ไฟฟ้า กระแสไฟที่ใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา
น้ำประปา ท่านไม่ควรที่จะดื่มน้ำโดยตรงจากก๊อก ขอแนะนำว่าควรซื้อน้ำขวด
เวลา เวลาของ ภูฎาน จะช้ากว่าที่เมืองไทย 1 ชั่วโมง
การปกครอง มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดยพระเจ้ายิกเม ซิงเก วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่4ของราชวงศ์ดรุกยูล ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติ ที่เรียกว่า Tsongdu ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบการด้วยสมาชิก 151 คน
· สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
· สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ตราพระราชสัญลักษณ์ หรือ ตราประจำตระกูลของพระมหากษัตริย์ จะมีสัญลักษณ์รูปอัญมณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนยอดของตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ มีความหมายว่า “ในอาณาจักรพุทธศาสนาแห่งนี้ กษัตริย์อยู่เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยความกรุณา เมตตา ในรูปของอัญมณี 3 อย่าง” ส่วนคทาเพชรที่อยู่ตรงกลางแสดงถึงความสามัคคี ความปรองดองระหว่างประเพณีเก่า และใหม่ในทางศาสนา และกฎหมาย ส่วนมังกรสายฟ้าสองตัวที่ขนาบข้าง ทำจากหินเทอร์คอยล์ หรือ ขี้นกการเวก หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชื่ออาณาจักร Drul Yul คำว่า Druk หมายถึง มังกรสายฟ้า ส่วน Yul หมายถึงประเทศ
ธงชาติภูฏาน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงมุม จากมุมธงด้านปลายธงบนมายังมุมธงด้านต้นธงล่าง ครึ่งบนเป็นพื้นสีเหลือง ครึ่งล่างเป็นพื้นสีส้ม กลางธงระหว่างเส้นทแยงมุมมีรูปมังกรสายฟ้าสีขาวหรือดรุก หันหน้าไปทางด้านปลายธง
อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
เงินตรา หน่วยเงินตราของ ภูฐาน เรียกว่า นูงล์ตรัม (Ngultrum) อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเท่ากับเงินรูปีของประเทศอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD
ภูฏานมีอะไรน่าซื้อ
เมื่อเอ่ยถึงเรื่องช็อปปิ้งที่ภูฐาน หลาย ๆ คนถามเป็นเสียงเดียวกันว่า ภู ฎาน มีอะไรให้น่าซื้อ แค่ฟังชื่อก็รู้สึกว่าแปลก ๆ เหมือนประเทศนี้อยู่หลังเขาอันไกลโพ้น ห่างไกลความเจริญ แล้วจะไปซื้ออะไรได้ อันที่จริงประเทศนี้เขาก็อยู่หลังเขาจริงๆ เสียด้วย เพียง แต่เป็นเทือกเขาหิมาลัยที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนโลก ถึงความยิ่งใหญ่อลังการ และงดงามสุดจะบรรยายเท่านั้นเอง หลายคนจึงคาดไม่ถึงว่าจะได้พบอะไรเด็ดๆ ใน ภูฐาน โดยเฉพาะตัวผู้เขียนเองก็คิดว่า ภูฐาน เขามีงาน หัตถกรรม งานฝีมือ อย่างเช่น การทอผ้าพื้นเมือง…งานแกะสลักเครื่องไม้…งานสานเป็นภาชนะต่างๆ แค่นั้น นอกนั้นแล้ว จะเป็นสินค้าที่ส่งมาจากประเทศข้างเคียง อย่าง อินเดียและ เนปาล ไม่ว่าจะเป็น เครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หรือจะเป็นสิ่งอุปโภคบริโภคก็ตาม ล้วนแล้วแต่สั่งซื้อเข้ามาทั้งนั้น เพราะ ภูฐาน เองยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในประเทศ จึงจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจากประเทศข้างเคียง ดังนั้นถ้าไป ภูฐาน จะซื้ออะไรแต่ละอย่าง มักจะได้สินค้าจากนานาประเทศติดมาด้วย
ภูฎาน ไม่ ใช่แหล่งของนักช็อปปิ้ง ลืมไปได้เลย ว่าจะหาซื้อของที่ระลึกที่น่ารักกระจุ๋มกระจิ๋มปราณีต มียี่ห้อกลับบ้าน เพราะจุดประสงค์หลักของสินค้าที่วางขายในภูฐานนั้น ส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับชาวบ้านที่จะมาซื้อหานำไปใช้ในชีวิตประจำ วัน ซึ่งผลิตโดยคนพื้นเมืองของเขาเอง เป็นแบบอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และมักจะวางขายในตลาดท้องถิ่น แต่สำหรับนักท่องเที่ยวก็ใช่ว่าจะไม่มีเลยเสียทีเดียว เพราะสินค้าบางอย่างที่เป็นของประจำชาติของ ภูฐาน ก็เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว และมักจะมีใน
สถานที่ช็อปปิ้งในทิมพู
· ร้านเอโธ เมโธ (Etho Metho) ตั้งอยู่ชั้นล่างของบริษัทนำเที่ยว เอโธ เมโธ ตรงข้ามกับโรงหนัง
· ศูนย์ศิลปหัตถกรรมแฮนดิคราฟท์ เอ็มโพเรี่ยม (Handicraft Emporium) อยู่ถัดจากธนาคารขึ้นไป บนถนนสายหลักของเมือง
· ร้านหนังสือห้องสมุดแห่งชาติ (National Library Bookshop) อยู่ตรงข้ามกับธนาคารบนถนนสายหลัก
· ร้านหนังสือเพ็กกัง (Pekhang Bookshop) อยู่ด้านข้างของโรงหนัง
· ร้านศิลปหัตถกรรม เปลจอร์คัง (Peljorkhang Handicraft) อยู่ตรงศูนย์การค้าใจการเมือง
· ตลาดซันเดย์ (Sunday Market) จะอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เปิดตอนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
· ทเชอริง ดรอลการ์ (Trhering Drolkar) อยู่ตรงข้ามกับโรงหนัง และอาคารการท่องเที่ยวภูฐาน ตั้งอยู่บน ถนนสายหลักของเมือง
การเข้าเมือง
-คนต่างชาติ (ยกเว้นอินเดีย) เข้าเมืองต้องมี Passport และ Visa
-ต้องยื่นขอวีซ่าล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ต่อ Bhutan Tourism Corporation Limited (BTCL) เพื่อยื่นขอการอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศใน Thimphuโดยสถานทูตและสถานกงสุลภูฏานในต่างประเทศไม่มีหน้าที่ในการออกวีซ่า
-นักท่องเที่ยวจะเข้าเมืองได้เฉพาะเป็นทัวร์กลุ่มเท่านั้น
-จุดผ่านเข้าเมือง (Entry points) สามารถใช้เส้นทางอากาศโดยสายการบินประจำชาติ Druk Air โดยต้องมีวีซ่าแสดงในเวลาซื้อตั๋วเครื่องบินด้วย นอกจากนั้นยังสามารถใช้เส้นทางถนนจากเมือง Bagdogra ทางเหนือของเบงกอล และจากเมือง Sikkim และDarjeeling ไปยังเมือง Phuentsholing ซึ่งอยู่ชายแดนระหว่างภูฏานกับอินเดีย ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากเนปาลสามารถเดินทางถนนเข้ามาทาง Kakrivitta ซึ่งเป็นชายแดนทางด้านตะวันออกของเนปาลได้ด้วย
ของฝากภูฏาน
• สินค้าของที่ระลึกภูฏานและของฝากจากภูฏาน ส่วนใหญ่จะเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านฝีมือประณีต เช่น ผ้าทอ (มีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์) เครื่องจักสาน และเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน เครื่องจักสานของภูฏานทำด้วยไม้ไผ่ เหมือนเครื่องจักสานในเมืองไทย ทั้งรูปร่าง ลวดลาย การใช้สี และประโยชน์ใช้สอย ของที่ระลึกของภูฏานเป็นงานศิลปะที่มีค่าและมีความหมายมากสำหรับชาวภูฏาน และเป็นของที่ระลึกจากภูฏานที่ดีมากคือ ทังกา (ลักษณะเหมือนผ้ายันต์ มีที่แขวนทำด้วยไม้ไผ่)
• ทังกา หรือ พระบฎ ในชื่อของไทย คือ ผ้าใบผืนขนาดต่างๆ ที่เขียนสี เป็นผ้าที่ทอหรือปักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ หรือคำสอนในพุทธศาสนา ชาวภูฏานถือเป็นผ้าศักดิ์สิทธิ์และเป็นของสำคัญมากในการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวภูฏาน มีให้เลือกซื้อที่ แฮนดิคราฟต์เอ็มโพเรียม ร้านค้าละแวกโรงเรียนช่างสิบสามหมู่ และร้านเซอกีแฮนดิคราฟ
• ทังกาที่จะนำออกจากภูฏานได้จะต้องเป็นของทำเทียม หรือทำขึ้นใหม่เท่านั้น ทังกามีหลายขนาดและหลายราคา ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ลวดลาย และฝีมือการประดิษฐ์ ทังกาที่ทำขายนั้นเป็นการทำเทียมเลียนแบบของจริง ส่วนใหญ่เป็นงานของนักเรียนนักศึกษาที่หารายได้เป็นทุนการศึกษา ที่ได้รับการสืบทอดฝีมือกันมา เป็นงานฝีมืองดงามไม่แพ้ของจริง และมีภาพหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น เครื่องทรง สมณบริขาร รวมทั้งภาพผีเสื้อนานาชนิด สัตว์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในภูฏาน แม้แต่การจำลองรูปเงินตรา รวมทั้งตราไปรษษียากร ซึ่งเพิ่งใช้ในภูฏานเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา
• ของฝากของภูฏานมีจุดเด่นจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ 2 ประการคือ
1.ชาวภูฏานไม่ได้ผลิตสินค้าหัตถกรรมขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อการค้าเหมือน ประเทศอื่นที่ขายการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้น สินค้าภูฏานจึงมีค่าตรงที่เป็นของชาวบ้านทำขึ้นเพียงไม่กี่ชิ้น และบางชิ้นอาจมีชิ้นเดียวในโลก
2.ประเพณีการซื้อขายของชาวภูฏานจะไม่มีการต่อรองราคา และคนขายไม่ได้บอกราคาไว้เผื่อต่อ ดังนั้น ราคาสินค้าจึงเป็นราคาตายตัว ใครมาซื้อขายก็ต้องซื้อขายราคาเดียวกัน หรือหากจะมีการลดราคาได้บ้างก็ลดได้ไม่เกิน 10%1 เท่านั้น
• ของฝากจากภูฏานที่มีขายในตลาดภูฏาน มักเป็นของชิ้นเล็กๆ ราคาไม่แพงและไม่กินเนื้อที่ในกระเป๋าเดินทาง สินค้าที่มีราคาแพงมากคือ ทังกา ซึ่งต้องเป็นของที่ทำขึ้นใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ของเก่าที่ห้ามนำออกนอกประเทศ ถ้าเป็นทังกาที่เขียนลวดลายสีสันสวยงาม หรือเป็นผ้าที่ทอลายสอดเส้นไหม หรือสอดเส้นโลหะทองคำ ราคาจะแพงขึ้นไปอีก ราคาเริ่มต้นที่ 20 ยูโร-500 ยูโร
• ผ้าทอภูฏาน ผ้าทอเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของภูฏาน มีรูปลักษณ์คล้ายผ้าทอของลาว อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ อเมริกากลาง และเปรู เสื้อผ้าของชาวภูฏานที่ทอด้วยฝ้ายดิบย้อมสีธรรมชาติ เป็นของฝากจากภูฏานที่น่าสนใจ มีฝีมือการทอที่ทั่วโลกยกย่องชื่นชม หาซื้อได้ตามตลาดในชนบท ที่เมืองทิมพู ชาวบ้านเอามาขายที่ตลาดวีคเอ็น แต่เสื้อผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักรเป็นสินค้าจากอินเดียและเนปาล ราคาถูก เพราะไม่ใช่ผ้าทอมือ มีทั้งโก เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย กับคีร่า ผ้านุ่งของผู้หญิง ผ้าทอภูฏานเป็นผ้าหน้าแคบขายกันเป็นชิ้น ไม่ได้วัดเป็นเมตร (ถ้าทอด้วยไหมจะมีราคาแพงมาก) โกและคีร่าทำจากผ้าหลายชิ้น เอามาเย็บต่อๆ กันให้เป็นชิ้นใหญ่ ส่วนผ้าพาดไหล่ที่ผู้ชายภูฏานใช้สำหรับไปวัด หรือแต่งตัวไปงานที่เป็นทางการ เป็นสินค้าขายดี เพราะนักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้เป็นผ้าพันคอ
• ผ้าที่ถูกที่สุดคือผ้าฝ้ายสีพื้น ในขณะที่ผ้าทอที่แพงที่สุดเป็นผ้าทอทั้งผืน ใช้เวลาทอนานหลายเดือน และต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากในการสอดใส่เส้นไหมทอขึ้นเป็นลวดลายอันละเอียดประณีต บนพื้นผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมเอง ผ้าแต่ละชนิดจะทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันไป บ้างทอเพื่อทำเข็มขัดหรือสายรัดเอว บ้างทอขึ้นเพื่อทำเป็นชุดประจำชาติสำหรับผู้หญิง (กีรา) ชุดประจำชาติสำหรับผู้ชาย (โก) ผ้าสะบายบ่าของผู้หญิง (ราชู) ผ้าสะพายบ่าของผู้ชาย (กับเนะ) ชุดที่ใช้ในงานพิธี (ชาซีปังเค็น) หรือถุงย่าม (เปซุงหรือบุนดี) ส่วนผ้าขนสัตว์ยาทระของบุมทังนั้น ใช้สำหรับเย็บผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน และเสื้อแจ็กเก็ตโดยเฉพาะ
• เครื่องประดับอัญมณีและเครื่องเงิน สินค้าของฝากเครื่องเงินที่เตะตานักท่องเที่ยวมากที่สุดคือ กล่องไม้ หรือภาชนะสำหรับใส่ของ เช่น ใส่ขวดเหล้าหรือไวน์ เป็นงานไม้ที่ประดับด้วยเงิน ตีเป็นแผ่นและตกแต่งด้วยการฝังเม็ดเงินลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายต่างๆ ส่วนเครื่องเงินที่ทำเป็นของที่ระลึกอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เชี่ยนหมาก ทำเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยม มีที่ใส่หมาก พลู และปูนซึ่งทำด้วยเงินแท้ ลักษณะคล้ายเชี่ยนหมากของไทย เพราะชาวภูฏานกินหมากเป็นประจำและมีธรรมเนียมในการรับแขก ด้วยการนำหมากพลูกับน้ำชามารับแขก
• เครื่องประดับอัญมณีของภูฏานมีไม่มากแต่สวยสะดุดตา ทั้งเข็มกลัดเงินคู่ดุนลายและใช้โซ่ร้อยเข้าด้วยกัน ตุ้มหูทองฝังเทอร์ควอยซ์ กำไลเงินวงใหญ่แกะลายหรือฝังหินปะการังกับเทอร์ควอยซ์ เข็มขัดเงิน และสร้อยไข่มุก เครื่องประดับชนเผ่าต่างๆ เช่น แหวนปะการัง พลอยลาปิช หรือเทอร์ควอยซ์ทำเป็นหัวแหวน
• ทิม พูและพาโรเป็นแหล่งที่มีเครื่องประดับและเครื่องเงินให้เลือกมากที่สุด ถ้าเป็นที่ทิมพูต้องไปที่เอ็มโพเรี่ยม ร้านนอร์ลิง และเซริงโดรกา ร้านดรุ๊กตรินแฮนดิคราฟต์ของโรงแรมวังชุก ร้านเกลซังแฮนดิคราฟต์ในห้างดรุ๊กช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ร้านนอร์ลิงในโรงแรมดราก้อนรูตส์ ร้านอาร์ตชอปที่จัตุรัสหอนาฬิกาและร้านตาชิเยอร์บาร์ตรงหัวมุมด้านซ้ายของ ห้างดรุ๊กชอปปิ้งคอมเพล็กซ์
• งานไม้แกะสลัก งานแกะสลักด้วยไม้จากภูฏานที่เป็นที่นิยมกันมากคือ หน้ากากไม้ทาสีที่พระสวมใส่เวลาร่ายรำทำพิธีทางศาสนาในเทศกาลต่างๆ หน้ากากไม้ที่ทำเป็นของที่ระลึกมี 2 ขนาด คือ หน้ากากขนาดเล็ก กับหน้ากากขนาดใหญ่เท่าของจริง งานเครื่องไม้ที่ถือว่างามทีุ่สดคือ ของตกแต่งผนังกำแพง และโต๊ะเล็๋ก ๆที่เรียกว่า โชดม มักออกแบบให้พับเก็บได้ และมักลงสีไว้อย่างสวยงาม หน้ากากมีทั้งหน้ากากหน้ามนุษย์ หน้าสัตว์ และหน้าเทพเจ้าที่ใช้ในระบำทางศาสนา มีวางขายอยุ่ทั่วไป มีจำหน่ายที่ ร้านเชอกีแฮนดิคราฟต์ โรงเรียนช่างสิบสามหมู่ ตลาดนัดทิมพู
• เครื่องจักสานจากหวายและไม้ไผ่ ถ้าเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวีตประจำวันจะมีราคาถูกที่สุด และเป็นของภูฏานแท้ที่เหมาะจะเป็นของฝากจากภูฏานที่สุดด้วย ร้านค้าบางร้านในทิมพูและที่ตลาดนัดสุดสัปดาห์ขายสินค้าจำพวกที่กรองใบชา ที่กรองสุรา หมวกทรงกล้วย กระบอกใส่ลูกธนู โตกสำหรับยกข้าวมาเสริฟ กระด้งรูปสี่เหลี่ยมสำหรับฝัดข้าวและธัญพืช กระบอกไม้ไผ่ใส่สุรา และกระบุงทรงสี่เหลี่ยมพร้อมฝาปิด
• กระดาษสา หนังสือ และสิ่งของที่ทำด้วยกระดาษสา เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษและซองจดหมาย เป็นสินค้าแฮนเมดของภูฏานที่น่าสนใจมาก กระดาษที่ภูฏานเป็นกระดาษที่ทำขึ้นด้วยมือ เหมาะจะนำไปวาดภาพ คัดอักษร และใช้ห่อของขวัญ เมืองทิมพูมีโรงงานทำกระดาษ Jungzhi Handpeper อยู่ในเมือง มีการสาธิตกรรมวิธีการทำกระดาษ ตัวอย่างกระดาษประเภทต่างๆ ตลอดจนเลือกซื้อกระดาษภูฏานเป็นของฝาก และมีร้านขายหนังสือใหญ่ 4 ร้าน ในร้านขายหนังสือภาษาอังกฤษ มีทั้งหนังสือ นิตยสารและหนังสือเล่ม ร้านหนังสือที่อยู่ใกล้โรงแรมดรุก มีอยู่ 2 ร้านคือ ร้าน DBS และ ร้าน Bookworld ในร้านมีหนังสือทุกประเภท รวมทั้งหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสือเกี่ยวกับศาสนา ร้านของทางหอสมุดแห่งชาติอยู่เยื้องห้างเอ็มโพเรียมมีหนังสือแบบโบราณของภูฏานจำหน่าย
การแต่งกายของชาวภูฏาน
• ชุดประจำชาติที่ชาวภูฏานภาคภูมิใจ
• ภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้เป็นอย่างดี โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ซึ่งพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังเช่นภาพที่คนไทยทั้งประเทศได้เห็นและประทับใจในองค์มกุฏราชกุมารของภูฏาน เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติเกือบตลอดเวลา ระหว่างที่เสด็จมาร่วมในพิธีฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60 ปีเมื่อเดือนมิถุนายน เมื่อ พ.ศ. 2549
• ชุดประจำชาติของชาวภูฏานฝ่ายชาย เรียกว่า “โค” หรือ โฆ (Kho) โคเป็นชุดคล้ายกิโมโนของญี่ปุ่น เวลาสวมใส่ต้องให้ด้านซ้ายทับขวา เอาเข็มขัดคาดเอว ดึงเสื้อออกมาปิดเข็มขัดแลดูเหมือน 2 ท่อน ตรงชายเสื้อที่พับตลบขึ้นนั้น มาจากชุดชั้นในสีขาว หากเป็นหน้าร้อน นิยมใช้ปลอกแขนสวมหลอกเอาไว้ เมื่อถึงฤดูหนาว นอกเหนือจากชุดชั้นในสีขาวแล้ว ยังสามารถสวมเสื้อขนสัตว์และกางเกงเพิ่มเข้าไปตามความต้องการ
• ชุดประจำชาติของชาวภูฏานฝ่ายหญิง เรียกว่า “คีร่า” (Kira) คีรา เป็นผ้าทอพื้นเมือง ขนาดประมาณ 2.5×1. 5 เมตร นำมายึดติดกันด้วยเข็มกลัดเงิน ที่มีลวดลายงดงาม 2 ตัว ตรงบริเวณหัวไหล่คาดเข็มขัดเส้นโต ความยาวของ คีร่า เกือบลากดิน เสื้อตัวในมักจะใช้สีเดียวกับดอกดวงที่ปรากฎบนคีรา จากนั้นสวมเสื้อคลุมเปิดอกอีกตัว ชายเสื้อคลุมนี้จะอยู่ต่ำกว่าเอวประมาณหนึ่งคืบ แล้วเอาชายเสื้อตัวในตลบขึ้นทับชายแขนเสื้อคลุมตัวนอก หากเป็นหน้าร้อนจะไม่ใส่เสื้อคลุมกัน ส่วนรองเท้าแบบดั้งเดิมะไม่ต่างจากของชายมากนัก แต่ในปัจจุบัน มีตั้งแต่รองเท้าแตะฟองน้ำ ไปจนกระทั่งรองเท้าหนังหุ้มส้นแบบสากลนิยม
• ชุดกีร่าผ้าฝ้ายมีราคาประมาณ 30 ยูโร กีร่าฝ้ายทอลายไหม 500-700 ยูโร ในขณะที่กีร่าไหมทอลายไหมจะราคาสูงถึง 1,200-2,300 ยูโร ชุดโกผ้าไหมดิบราคาจะตกราว 180-200 ยูโร แต่ถ้าเป็นผ้ายาทระ ราคาจะเพิ่มเป็น 200-250 ยูโร สายรัดเอวของผู้ชายมีราคา 5 ยูโร ของผู้หญิงมีตั้งแต่ถูกสุด5 ยูโรไปจนถึง 60 ยูโร ราคาที่ต่างกันจะมีคุณภาพเป็นตัวกำหนด ร้านขายผ้าทอมือในทิมพู มีร้านเซริงโดรกายิดซินแฮนดิคราฟต์ กูร์เตแฮนดิคราฟต์ เกลซังแฮนดิคราฟต์ ดรุ๊กตรินแฮนดิคราฟต์ และร้านตามโรงแรมต่างๆ
• ผ้าสะพายบ่าในงานพิธี “กับเนะ” (Kabney)
• กับเนะ คือ ผ้าผืนใหญ่ที่ผู้ชายภูฏานใช้สะพายบ่าเมื่อต้องร่วมไปงานพิธี หรือเมื่อมีธุระต้องเข้าไปในป้อม (ซอง) ถือเป็นเครื่องแสดงสถานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของ
ใครมีธุระหรือต้องไปติดต่อสถานที่ราชการหรือเข้าวัด หรือเข้าซอง ต้องเอา กับเนะ มาพาดไหล่ซ้ายพันร่างเฉียงไปทางขวา ซึ่งมีสีแตกต่างกันออกไป อันเป็นการบ่งบอกถึงฐานะทางสังคม และฐานันดรของผู้ใช้ผ้าพาดไหล่นั้น คือ
– สีเหลืองอมส้ม ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ และพระสังฆราช ข้าราชการชั้นสูง ทั้งหมดจะมีดาบคาดประดับ กับเนะชั้นสูงนั้น พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้พระราชทานให้ แต่ถ้าเป็นระดับรองๆ ลงมา รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้มอบให้แทน กับเนะของราชองครักษ์ ทหารและตำรวจจะเป็นผ้าเนื้อหนา ความกว้างจะน้อยกว่ากับเนะทั่วไป
– สีส้ม ใช้สำหรับรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นผ้าเย็บเก็บชายแต่จะพับชายพาดทับไว้บนบ่าซ้ายอีกชั้นหนึ่ง
– สีน้ำเงิน ใช้สำหรับองคมนตรี ผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาองคมนตรี
– สีแดง ใช้สำหรับ ดาโซะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กษัตริย์ภูฏานจะพระราชทานให้กับข้าราชบริพารที่มีความดีความชอบ เป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ไม่มีการสืบทอดไปสู่ทายาท เป็นผ้าผืนใหญ่เย็บเก็บชายเรียบร้อย
– สีขาว ใช้สำหรับสมาชิกรัฐสภา หรือสามัญชน สำหรับคนธรรมดา ผู้ช่วยหัวหน้าเขตปกครอง (ซงรับ, ดรุงปา) จะใช้กับเนะสีขาว ชายเป็นพู่ ตรงกลางมีริ้วสีแดงพาดลงมาตามแนวยาวหนึ่งเส้น และแนวขวางตัดกันอีกหนึ่ง สองหรือสามเส้น ส่วนหัวหน้าหมู่บ้าน (กัป) จะใช้กับเนะสีขาว ชายเป็นพู่ ขอบเป็นริ้วสีแดงสองเสนพาดลงมาตามแนวตั้ง เรียกว่า คามาร์
– สีขาวลายเส้นสีแดง ใช้สำหรับหัวหน้าหมู่บ้าน
– สีขาวขลิบริมสีแดง ใช้สำหรับทหาร
• ส่วนการสวมถุงเท้าจะสวมยาวขึ้นมาถึงใต้เข่า สำหรับรองเท้าแบบภูฏานแท้ เหมือนบู๊ทหุ้มข้อมีลวดลายและสีสันสะดุดตา แต่ชายภูฏานทุกวันนี้ นิยมสวมรองเท้าธรรมดาทั่วไป ตลอดจนรองเท้าผ้าใบและรองเท้ากีฬา
• สำหรับผู้หญิง หากจะต้องเข้าไปในสถานที่ราชการหรือศาสนสถาน ก็จะต้องมีผ้าพาดไหล่พันกายเช่นเดียวกับชายชาวภูฏาน แต่มีชื่อเรียกต่างกันว่า “ราชุง” (Rachung) ซึ่งผู้หญิงภูฏานทุกคนใช้ ราชุง สีแดงเข้มเหมือนกันหมด
Laisser un commentaire
Vous devez vous connecter pour publier un commentaire.